เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2565 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (World Economic Outlook) ของปี 2565 และ 2566 สาระสำคัญ คือปรับลดการคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลก สวนทางกับอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น
สาเหตุหลักมาจากการที่รัสเซียส่งกำลังทหารบุกโจมตียูเครนอย่างต่อเนื่อง และการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยังคงมีอยู่ในหลายๆ ประเทศ โดย IMF คาดการณ์ว่า GDP โลก จะขยายตัวเพียง 3.6% ทั้งในปี 2565 และ 2566 จากเดิมที่คาดการณ์ในเดือนมกราคม 2565 ว่า GDP โลกจะขยายตัว 4.4% ในปี 2565 และ 3.8% ในปี 2566 ส่วนกลุ่มตลาดเกิดใหม่ในทวีปยุโรป คาดว่าเศรษฐกิจยูเครน รัสเซีย และเบลารุส จะหดตัวมากที่สุด IMF จึงประเมินว่า GDP ภูมิภาคนี้จะหดตัว 2.9% ในปี 2565 และขยายตัวเล็กน้อยที่ 1.3% ในปี 2566
นอกจากนี้ IMF ยังคาดการณ์อีกว่า จะเกิดอัตราเงินเฟ้อสูงทั่วโลก อันเป็นผลมาจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน โดยคาดว่า อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ปีนี้ จะอยู่ที่ 7.7% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนจะอยู่ที่ 5.3% ส่วนอัตราเงินเฟ้อในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาจะพุ่งขึ้นไปถึง 8.7% กล่าวได้ว่า ปัจจุบัน ภาวะเงินเฟ้อถือเป็นปัญหาสำคัญที่กำลังเกิดขึ้นในหลายๆ ประเทศ โดยเฉพาะรัสเซียและตุรกีที่ประสบปัญหาภาวะเงินเฟ้อหนักในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ในทวีปยุโรป
Emerging and |
2019 |
2020 |
2021 |
Projections 2022 |
Projections 2023 |
Projections 2024 – 2027 |
Real GDP Growth |
2.5 |
-1.8 |
6.7 |
-2.9 |
1.3 |
2.4 |
World Output |
2.5 |
-1.8 |
6.7 |
-2.9 |
1.3 |
2.4 |
Trade in Goods |
0.6 |
-3.5 |
8.7 |
7.2 |
-2.9 |
– |
Current Account Balances |
1.3 |
0.0 |
1.7 |
3.2 |
1.7 |
-0.3 |
Net Lending and Borrowing |
1.8 |
0.7 |
2.2 |
3.9 |
2.4 |
0.4 |
Country |
Real GDP |
Consumer Prices |
Current Account Balance |
Unemployment |
||||||||
|
Projections |
|
Projections |
|
Projections |
|
Projections |
|||||
2021 |
2022 |
2023 |
2021 |
2022 |
2023 |
2021 |
2022 |
2023 |
2021 |
2022 |
2023 |
|
Emerging and Developing Europe |
6.7 |
-2.9 |
1.3 |
9.5 |
27.1 |
18.1 |
1.7 |
3.2 |
1.7 |
– |
– |
– |
Hungary |
7.1 |
3.7 |
3.6 |
5.1 |
10.3 |
6.4 |
-0.9 |
-1.3 |
0.1 |
4.1 |
4.3 |
4.2 |
Serbia |
7.4 |
3.5 |
4.0 |
4.1 |
7.7 |
4.7 |
-4.4 |
-6.1 |
-5.7 |
10.1 |
9.9 |
9.7 |
Croatia |
10.4 |
2.7 |
4.0 |
2.6 |
5.9 |
2.7 |
-2.0 |
-0.4 |
-0.3 |
8.2 |
7.7 |
7.4 |
Romania |
5.9 |
2.2 |
3.4 |
5.0 |
9.3 |
4.0 |
-7.1 |
-7.0 |
-6.5 |
5.3 |
5.6 |
5.5 |
Bulgaria |
4.2 |
3.2 |
4.5 |
2.8 |
11.0 |
3.3 |
-2.0 |
-2.2 |
-2.0 |
5.3 |
4.9 |
4.6 |
หมายเหตุ: นิยามของตลาดเกิดใหม่และกำลังพัฒนาในทวีปยุโรป (Emerging and Developing Europe) ของ IMF ใกล้เคียงกับนิยามภูมิภาคยุโรปกลางและตะวันออก ประกอบด้วยประเทศ ดังต่อไปนี้ แอลเบเนีย เบลารุส บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา บัลแกเรีย โครเอเชีย ฮังการี คอซอวอ มอลโดวา มอนเตเนโกร นอร์ธมาซิโดเนีย โปแลนด์ โรมาเนีย รัสเซีย เซอร์เบีย ตุรกี และยูเครน ซึ่งถือว่าเป็นประเทศกำลังพัฒนา ยังไม่ใช่ประเทศพัฒนาแล้ว (Advanced Economies)
สถิติข้างต้นแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจโลกนั้นได้รับผลกระทบมาตั้งแต่ปี 2563 จากการระบาดของไวรัสโควิด-19 และมีแนวโน้มที่ดีขึ้นในปี 2564 หลังรัฐบาลหลายประเทศประสบความสำเร็จในการควบคุมโรคระบาดมากขึ้น และประชาชนเริ่มได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ช่วงต้นปี 2565 ภาวะเศรษฐกิจกลับชะงักงันจากสงครามระหว่างยูเครนและรัสเซียที่กระทบกระบวนการทางเศรษฐกิจ ส่งผลเป็นวงกว้างทั่วโลก
ถึงแม้หลายฝ่ายคาดว่าสถานการณ์สงครามจะคลี่คลายลงในอีกไม่นาน แต่การสูญเสียทุกด้าน ไม่ว่าจะชีวิตประชาชน หรือโครงสร้างเมืองต่างๆ ในยูเครน จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกต่อไปอีกหลายปีอย่างแน่นอน โดยเฉพาะกับประเทศเพื่อนบ้านของทั้งสองประเทศที่เป็นกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ และกำลังพัฒนา (Emerging and Developing Countries) ซึ่งก็คือภูมิภาคยุโรปกลางและตะวันออก (CEE) ที่ผลกระทบโดยตรงหลายประการจากภาวะสงคราม ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตผู้อพยพ ความมั่นคงทางการทหาร และความเสียหายทางเศรษฐกิจ ปัจจุบัน ชาวยูเครนกว่า 4 ล้านคนต้องอพยพไปยังประเทศเพื่อนบ้าน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทว่ายังมีผู้คนที่ยังคงยืนหยัดต่อสู้กับกองทัพรัสเซียในประเทศต่อไป
นักวิเคราะห์หลายฝ่ายมองว่า ในอนาคต อาจเกิดภาวะคล้ายสงครามเย็นระหว่างสองฝ่ายอีกครั้ง และ CEE จะเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากความขัดแย้งนี้ เนื่องจากมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ติดกับยูเครน นอกจากนี้ ผลกระทบโดยตรงของสงคราม คือความเสียหายทางเศรษฐกิจ ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์รัสเซียรุกรานยูเครนนั้น เศรษฐกิจภูมิภาค CEE นั้นถือว่ามีสัญญาณเติบโตดี ถึงแม้จะได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในปี 2563 แต่ก็แสดงการฟื้นตัวได้ดีในช่วงหลังของปี 2563-2564
ทว่าเมื่อสงครามปะทุขึ้นมา ปัญหาทางเศรษฐกิจก็เริ่มทวีความรุนแรงขึ้น เช่น การชะลอตัวของเศรษฐกิจ และเงินเฟ้อในกลุ่มพลังงานและอาหาร อันเป็นผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลกปรับสูงขึ้นตั้งแต่ปี 2564
โดยรวมแล้ว ถึงแม้สัดส่วนการส่งออกสินค้า/บริการจาก CEE ไปยังรัสเซียยังไม่สูงนักเมื่อเทียบกับคู่ค้าสำคัญรายอื่น เช่น EU ทว่า CEE นั้นได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากรัสเซีย โดยเฉพาะน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ ส่งผลให้ CEE ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงไปด้วย
IMF แนะนำว่า ประเทศที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานปริมาณมากจากรัสเซีย มีโอกาสที่จะเผชิญกับปัญหาทางเศรษฐกิจหนักกว่า จึงแนะนำให้ CEE เตรียมแผนลดการพึ่งพาพลังงานจากรัสเซีย
วิกฤตการขาดแคลนพลังงานที่ส่งผลกระทบต่อเนื่องทางเศรษฐกิจหลายปี ประกอบกับการรับมือเฉพาะกิจในภาวะวิกฤตการโจมตียูเครนของรัสเซีย ซึ่งอาจส่งผลต่อการขาดแคลนพลังงานในยุโรป ทำให้รัฐบาลประเทศในทวีปยุโรปต่างพยายามหาแนวทางแก้ปัญหา เช่น การกระจายแหล่งนำเข้า/ผลิตเชื้อเพลิง การจัดหาพลังงานหมุนเวียน ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดมาเป็นแหล่งพลังงานสำรอง การลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และส่งเสริมการขยายสัดส่วนการใช้แหล่งพลังงานสะอาดในอุตสาหกรรมการผลิตพลังงานในประเทศมากขึ้น ตามนโยบาย European Green Deal และข้อตกลง COP26
ช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา EU ออกมาตรการเบื้องต้น เพื่อลดการพึ่งพารัสเซีย ตั้งเป้าหมายเลิกพึ่งพา
ก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียภายในปี 2573 เพื่อให้ประเทศสมาชิก EU ปราศจากอิทธิพลทางการเมืองและเศรษฐกิจของรัสเซีย เนื่องจากปัจจุบัน ก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียคิดเป็นสัดส่วนราว 40% ของปริมาณการนำเข้าก๊าซทั้งหมดของ EU
ทว่าบางประเทศใน CEE ที่ยังไม่ได้เข้าเป็นสมาชิก EU ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามเป้าหมายดังกล่าว ส่วนประเทศที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการสมัครสมาชิก จะต้องรับเป้าหมายดังกล่าวเช่นเดียวกันประเทศสมาชิก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการบูรณาการเข้า EU เพื่อบรรลุเงื่อนไขการสมัครเป็นสมาชิก EU สถานการณ์นี้จึงมีแนวโน้มที่เป็นปัญหาทางการเมืองต่ออีกในอนาคต
ด้านการกระจายความเสี่ยงแหล่งพลังงาน (Energy diversification) ประเทศที่เป็นสมาชิก EU จะต้องทำตามนโยบายของ EU เพื่อลดการพึ่งพาพลังงานจากรัสเซีย ประเทศในเขตอาณาของ สคต. ที่อยู่ในภูมิภาคยุโรปกลางและเป็นสมาชิก EU ได้แก่ บัลแกเรีย ที่ได้เจรจาหาแหล่งพลังงานอื่นทดแทนมาโดยตลอด โดยนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากอาเซอร์ไบจาน กาตาร์ แอลจีเรีย และสหรัฐอเมริกา รวมถึงนำเข้า LNG จากกรีซ ส่วนโรมาเนียและโครเอเชีย มีอุตสาหกรรมการผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติของตนเองในทะเลดำและทะเลอาเดรียติกตามลำดับ อีกทั้งยังมีโรงไฟฟ้าพลังน้ำอีกด้วย จึงไม่ได้ต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียมากนัก ทว่าฮังการีนั้นพึ่งพาการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากรัสเซีย และการร่วมทุนโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์กับรัสเซียเป็นหลัก จึงมีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับรัสเซีย ขัดกับแนวทางของ EU
ส่วนประเทศในคาบสมุทรบอลข่าน เนื่องจากมีระดับรายได้น้อยกว่าค่าเฉลี่ย EU ไม่มีงบประมาณลงทุนผลิตพลังงานจากแหล่งพลังงานสะอาดหรือพลังงานหมุนเวียนเพียงพอ จึงยังต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหินอยู่มาก และนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากรัสเซีย
ทว่า EU มองว่า ความมั่นคงของบอลข่านส่งผลต่อความมั่นคงของ EU ในฐานะประเทศเพื่อนบ้าน และมีบางส่วนที่สมัครเข้าเป็นสมาชิก EU ด้วย ได้แก่ เซอร์เบีย มอนเตเนโกร ดังนั้น EU จึงเข้าไปช่วยเหลือภูมิภาคบอลข่านตะวันตกผ่านกรอบความร่วมมือต่างๆ เช่น Economic and Investment Plan for the Western Balkans ปี 2563 ตามกลยุทธ์การขยายจำนวนสมาชิก EU ในภูมิภาคบอลข่าน ที่ดำเนินการตั้งแต่ปี 2543 (EU Enlargement to the Western Balkans) ปัจจุบันมีเพียงโครเอเชียที่เข้าเป็นสมาชิก EU ได้สำเร็จในปี 2556
สคต. บูดาเปสต์ คาดว่า เศรษฐกิจของ CEE ซึ่งเป็นประเทศในเขตอาณาของ สคต.ส่วนหนึ่ง มีแนวโน้มทรงตัว อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการกระเตื้องขึ้นของกิจกรรมทางเศรษฐกิจอาจไม่มากอย่างที่คาดไว้ ซ้ำยังประสบความลำบากเมื่อราคาต้นทุนพลังงานสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาค่าสาธารณูปโภคและต้นทุนการผลิตสินค้า/บริการสูงขึ้น ส่งผลให้เงินเฟ้อสูงขึ้นตามไปด้วย ทั้งหมดนี้ส่งผลต่อการพิจารณาลงทุน หรือทำการค้ากับประเทศต่างๆ รวมทั้งการส่งออกและนำเข้าสินค้า/บริการมีแนวโน้มลดลง หรืออย่างน้อยก็ขยายตัวไม่มากนักเมื่อเทียบกับอัตราปีก่อนๆ ซึ่งการค้ากับไทยก็เป็นหนึ่งในผลกระทบที่อาจจะได้รับจากปัจจัยเหล่านี้
สคต. ณ กรุงบูดาเปสต์
เมษายน 2565